Jump to content



 
จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม จองรถเช่า
แผนกบริการลูกค้า โทร 02-3737-555 จันทร์ - เสาร์ 09.00-18.00น.

 

ค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและการบินในเอชไฟล์ท เชิญด้านล่างนี้

หน้าแรก | เว็บบอร์ดรีวิว | จองตั๋วเครื่องบิน | จองโรงแรม | เที่ยวต่างประเทศ | เที่ยวในประเทศ | ลงโฆษณา

ชมโรงงาน Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่ พาไปดูที่มาของเครื่องบินพาณิชย์ถึง Seattle USA


  • Please log in to reply
26 replies to this topic

#1 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

 


Posted 30 December 2017 - 05:34 PM

Advertisements

ชมโรงงาน Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่ พาไปดูที่มาของเครื่องบินพาณิชย์ถึง Seattle USA

เรื่อง jk..lsky ภาพ jk..lsky , HS-TEK

 

Untitled.jpg

 

ทีมงานเอชไฟลท์ได้มีโอกาสเดินทางไปสหรัฐอเมริกามาเมื่อไม่นานมานี้ โดยหนึ่งในจุดหมายหลักของเราในครั้งนี้นั้นอยู่ที่เมืองซีแอทเทิล ซึ่งเป็นที่ผลิตเครื่องบินของบริษัท โบอิ้ง บริษัทด้านการบินและอวกาศยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ และถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลกที่มีส่วนแบ่งตลาดในตลาดเครื่องบินพาณิชย์ขนาดมากกว่า 100 ที่นั่งขึ้นไปถึงประมาณครึ่งหนึ่งของเครื่องบินที่ใช้กันอยู่ในโลก

 

หลาย ๆ คนก็คงคุ้นเคยกับเครื่องบินโบอิ้งดี เพราะบรรดาเครื่องบินที่ใช้อยู่ในประเทศไทยหรือในภูมิภาคนี้ (จริง ๆ แล้วคือทั้งโลกนั่นแหละ) ก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นเครื่องบินของโบอิ้ง โดยสายผลิตภัณฑ์เครื่องบินพาณิชย์ในปัจจุบันนั้นมีทั้งเครื่องบินลำตัวแคบ ทางเดินเดี่ยวที่จุคนได้ประมาณ 130-230 ที่่นั่งนั่นก็คือ 737 และ 737MAX และเครื่องบินลำตัวกว้างที่จุคนได้ตั้งแต่ 200-600 ที่นั่ง ได้แก่ 767 787 777 747 รวมไปถึง 777X ในอนาคต

 

เราก็จะพาไปรู้จักกับโบอิ้งให้มากขึ้นนอกเหนือจากการได้นั่งเครื่องบินโบอิ้งที่สายการบินนำมาให้บริการแล้ว โดยเราจะพาไปชมโรงงานโบอิ้งทั้งที่เป็นโรงงานประกอบเครื่องบินลำตัวแคบและเครื่องลำตัวกว้าง รวมไปถึงพาไปชมเกร็ดน่าสนใจของการประกอบเครื่องบินสักลำว่ากว่าจะเป็นเครื่องบินหนึ่งลำที่มีมูลค่าหลายพันล้านบาทนั้น หน้าตาโรงงานและการผลิตเขาเป็นอย่างไรตามมาชมบรรยากาศที่เราเก็บมาฝากทั้งในรูปแบบวิดีโอและรายละเอียดเจาะลึกกันได้เลย

 





Advertisements

#2 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:34 PM

เรามาถึงเมืองซีแอทเทิล รัฐวอชิงตัน ของสหรัฐฯ แล้ว หากใครลองนึกภาพแผนที่ของสหรัฐฯ ซีแอทเทิลและวอชิงตัน ก็จะอยู่ด้านมุมบนซ้ายฝั่งตะวันตก ของแผ่นดินสหรัฐ ใกล้กับชายแดนแคนาดา แถบเมืองแวนคูเวอร์ ซีแอทเทิลเป็นที่รู้จักว่าเป็นที่ตั้งหรือจุดเริ่มต้น ของบริษัทดัง ๆ ของสหรัฐฯ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น กาแฟสตาร์บักค์ ไมโครซอฟท์ แอมะซอน และรวมไปถึงโบอิ้ง

 

จริงๆ  แล้วโบอิ้งนั้นมีสำนักงานใหญ่อยู่ในนครชิคาโก รัฐอิลินอยส์ แต่ว่าจุดเริ่มต้นของโบอิ้งนั้นเริ่มต้นที่ซีแอทเทิล เมื่อวิลเลียม อี โบอิ้ง ได้ซื้ออู่ต่อเรือแห่งหนึ่งในเมืองซีแอทเทิลเมื่อปี 1910 เพื่อเริ่มใช้เป็นโรงผลิตเครื่องบินและมีการจดทะเบียนบริษัทครั้งแรกว่า  "Pacific Aero Products Co" เมื่อ 15 กรกฎาคม 1916 และโบอิ้งก็เริ่มนับการดำเนินงานมาตั้งแต่ตอนนั้น และเพิ่งฉลองครบรอบ 100 ปีไปเมื่อปีที่แล้ว โดยในปัจจุบันกิจกรรมจำนวนมากของโบอิ้งก็ยังอยู่ในรัฐวอชิงตันในพื้นที่ใกล้ ๆ ซีแอทเทิล ซึ่งรวมไปถึงสายการผลิตเครื่องบินทุกรุ่น ไม่ว่าจะเป็น 737 747 767 777 และ 787

 

1-1.jpg

 

1-2.jpg



#3 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:35 PM

สำหรับการผลิตเครื่องบินพาณิชย์นั้น (อย่าลืมว่าโบอิ้งมีการผลิตเครื่องบินทางทหาร เฮลิคอปเตอร์ และดาวเทียมด้วย) ที่ซีแอทเทิล ก็จะมีพื้นที่่ที่เป็นสายการผลิตของโบอิ้งหลัก ๆ อยู่สองแห่ง ที่แรกซึ่งเราจะพาไปชมกันก่อนนั่นก็คือ โรงงานที่เอฟเวอร์เร็ต (Everette) ซึ่งเป็นสายการผลิตของเครื่องบินลำตัวกว้างทุกรุ่น ไม่ว่าจะเป็น 747 767 777 และ 787 (โดย 787 นั้นยังมีสายการผลิตอีกแห่งที่เซาท์ แคโรไลนา) รวมถึงเป็นที่ทำการทดสอบต่าง ๆ และส่งมอบด้วย โดยโรงงานที่เอฟเวอร์เร็ตนี้จะอยู่บริเวณสนามบินที่เรียกว่าเพนฟิลด์ (Paine Field PAE/KPAE) ทางตอนเหนือของเมืองซีแอทเทิล 

 

ส่วนอีกที่หนึ่งคือที่เรนตัน (Renton) ซึ่งเป็นสายการผลิตเครื่องบินลำตัวแคบคือ 737 นั้นเดี๋ยวเราจะพาไปชมกันทีหลัง

 

2-1.jpg

 

2-2.jpg



#4 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:36 PM

เมื่อกี๊เห็นภาพของโรงงานที่เอฟเวอร์เร็ตจากทางอากาศกันไปแล้ว จะเห็นได้ว่ามีอาคารขนาดใหญ่มาก ซึ่งอาคารนั้นแหละคืออาคารที่ใช้เป็นสายการผลิตขั้นสุดท้าย(Final Assembly Line) ของเครื่องบินลำตัวกว้างทั้ง 4 รุ่น คือ 747 767 777 และ 787 โดยอาคารนี้นั้นกินเนส เวิร์ลด เรคคอร์ด ได้รับรองว่าเป็นอาคารโรงงานผลิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดโดยปริมาตร 

 

มีความสูง 35 เมตร

ยาวจากเหนือไปใต้ 492 เมตร

จากตะวันตกไปตะวันออก 1067 เมตร 

มีประตู 6 บาน สี่บานนั้นกว้าง 91 เมตร x 25 เมตร และอีก 2 บานกว้าง 105 เมตร x 25 เมตร

หากจะเดินรอบกำแพงอาคารนั้นจะเป็นระยะทางถึง 3.5 กิโลเมตร

โดยตัวอาคารทั้งหมดมีปริมาตรถึง 13.3 ล้านลูกบาศก์เมตร 

ตัวอาคารกินพื้นที่ทั้งหมด 249 ไร่ แต่พื้นที่ของโรงงานที่เอฟเวอร์เร็ตทั้งหมดนั้นคือเกือบ 2594 ไร่

 

3-1.jpg

 

3-2.jpg

 

3-3.jpg



#5 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:36 PM

เมื่อเข้ามาเยี่ยมชมโรงงานนั้นสิ่งหนึ่งที่ผู้เยี่ยมชมจะได้เห็นคือการเปรียบเทียบขนาดของตัวอาคารแห่งนี้(กรอบสีแดง) กับอาคารหรือสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก

 

4.jpg



#6 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:37 PM

หลายคนคงพอทราบแล้วว่าการสร้างเครื่องบินนั้นเขาไม่ได้มาหล่อ มาตีเหล็กอะไรกันทีเดียวที่ในโรงงานนี่ เพราะที่โรงงานนี้คือสายการประกอบขั้นสุดท้าย Final Assembly Line ซึ่งจะเป็นการนำชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องบินเป็นส่วน ๆ ที่มีการผลิต มีการติดตั้งอุปกรณ์หรือระบบบางอย่างมาด้วยแล้วก็มีจากที่อื่นคือโรงงานที่อยู่ในเมืองอื่น ประเทศอื่น หรืออาจจะโรงงานอื่นที่อยู่ในพื้นที่แถวนี้แหละ ขนส่งมารวมกันแล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกัน ติดตั้งระบบต่าง ๆ เพิ่มเติม จนกลายเป็นเครื่องบินที่สมบูรณ์

 

อย่างชิ้นส่วนเครื่องบินต่าง ๆ นั้นก็อาจจะขนส่งมาถึงโรงงานที่เอฟเวอร์เร็ตได้หลายวิธีบ้างก็มาทางรถไฟ (ที่นี่มีสถานีรถไฟขนาด 3066 ตารางเมตร ขนถ่ายชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ส่งมาทางรถไฟถึงวันละ 15 ตู้) บ้างมาทางเครื่องบินก็มี

 

5-1.jpg

 

5-2.jpg



#7 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:38 PM

ตอนนี้เรากำลังอยู่ในสายการผลิตของเครื่องบินโบอิ้ง 777 ซึ่งจะเห็นว่ามีอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมายที่รอนำเข้าไปติดตั้งกับตัวเครื่องบิน นอกเหนือจากชิ้นส่วนใหญ่ ๆ อย่างเช่นลำตัว แพนหาง และปีก แล้วซึ่งด้วยการที่โรงงานแห่งนี้ต้องมีการประกอบชิ้นส่วนและขนย้ายชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากต่างๆ อีกอุปกรณ์สำคัญในการดำเนินงานของโรงงานแห่งนี้ก็คือระบบเครนซึ่งจะติดตั้งไว้กับรางด้านบนอาคารโดยมีเครนถึง 36 ตัววิ่งไปมาบนเครือข่ายรางยาว 72 กิโลเมตรอยู่ภายในอาคารนี้ ซึ่งสามารถยกน้ำหนักได้สูงสุด 30.8-36.3 เมตรตริกตัน นอกจากนั้นยังมีรถยกในโรงงานอีกกว่า 100 ตัว

 

6-1.jpg

 

6-2.jpg



#8 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:38 PM

พื้นที่ภายในอาคารโรงงานอย่างที่กล่าวไปแล้วว่าจะเป็นสายการผลิตขั้นสุดท้ายของเครื่องบิน 4 รุ่น คือ 747 767 777 และ 787 ซึ่งก็จะมีการแยกพื้นที่กันเป็นสัดส่วน อย่างตรงนี้ก็จะมีการประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ในสายการผลิตของ 777 โดยจะมีสถานีเริ่มแรกที่ชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้ามาทางด้านท้ายอาคาร และมีการเคลื่อนการประกอบเครื่องบินแต่ละลำไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นเครื่องบินที่เกือบเสร็จสมบูรณ์ทีด้านหน้าอาคารก่อนจะมีการเปิดประตูขนาดใหญ่ที่เราให้ชมไปตอนแรก เพื่อนำเครื่องบินออกไปนอกอาคารเพื่อไปทำการติดตั้งทดสอบและดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องทำนอกอาคารต่อไป

 

7-1.jpg

 

7-2.jpg



#9 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:40 PM

8-1.jpg

 



#10 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:41 PM

เราขึ้นมาชมสายการผลิตของ 777 จากมุมสูงกันบ้าง ด้านไกล ๆ ที่ท้ายอาคารนู่นคือต้นสายการผลิต ส่วนด้านใกล้ที่เราเห็นเครื่องบิน 777-300อีอาร์ ลำใหม่ชัด ๆ ตรงนี้คือท้ายสายการผลิตทีใกล้จะได้เครื่องบินที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังจากนี้ประตูก็จะเปิดออก มีการนำเครื่องบินออกไปด้านนอก เพื่อไปทำการทดสอบภาคพื้นภายนอก ไปทำการทดสอบการบิน ไปเข้าโรงเพนท์สี (ที่นี่มีโรงเพนท์สี ถึง 3 โรง และต้องใช้เวลา 4-7 วันในการเพนท์เครื่องบินแต่ละลำ)

 

9-1.jpg

 

9-2.jpg



#11 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:42 PM

จาก 777 เรามาดูสายการผลิตของ 787 ดรีมไลเนอร์กันบ้าง เครื่องบินรุ่นใหม่สุดและเทคโนโลยีใหม่สุดในบรรดาเครื่องลำตัวกว้างของโบอิ้ง

 

สิ่งที่หลายคนอาจจะสังเกตเห็นได้ชัดก็คือ สีเครื่องบินที่อยู่ในสายการผลิตของ 787 นั้นจะเป็นสีขาว แต่บรรดาเครื่องบิน 777 ที่อยู่ในสายการผลิตนั้นจะเป็นสีเขียว นั่นก็เพราะว่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตลำตัวของ 777 และ 787 ต่างกัน

 

หลายคนคงพอทราบว่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตลำตัวและโครงสร้างหลายส่วนของ 787 ดรีมไลเนอร์นั้นคือวัสดุประกอบคาร์บอนคอมโพสิต ซึ่งจะมีสีที่ใช้ปกป้องพื้นผิวเป็นสีขาว ส่วนเครื่องบิน 777 (รวมถึง 747 767 และ 737) นั้นวัสดุหลัก ๆ จะเป็นโลหะอะลูมิเนียมซึ่งจะมีการทาวัสดุสีเขียวไว้ในการปกป้องพื้นผิวในระหว่างผลิต

 

10-1.jpg

 

10-2.jpg



#12 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:43 PM

และด้วยเทคโนโลยีของวัสดุคาร์บอนคอมโพสิตนี่เอง ที่มีความแข็งแรงกว่า แต่เบากว่าและบางกว่า จึงกลายมาเป็นข้อดีของ 787 ที่เมื่อเทียบกับเครื่องบินยุคก่อนนั้นสามารถปรับความดันในห้องโดยสารได้ใกล้เคียงกับพื้นผิวมากกว่า โดยเมื่ออยู่บน 787 นั้นจะเหมือนกับว่าเราอยู่ในพื้นที่ที่สูงจากพื้นดินแค่ 6000 ฟุต มีความดันอากาศที่ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันและสบายกับร่างกายเรามากกว่าเครื่องบินยุคก่อน ๆ ทีใช้อะลูมิเนียมที่จะปรับความดันได้เหมือนกับเราอยู่สูง 8000 ฟุต

 

นอกเหนือจากนั้นเทคโนโลยีของวัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างของ 787 นั้นยังทำให้สามารถทำบานหน้าต่างได้ใหญ่กว่า(เพราะวัสดุแข็งแรงกว่า) ซึ่งทำให้ผู้โดยสารได้รับแสงธรรมชาติและรู้สึกโปร่งสบายมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงมีความชื้นในห้องโดยสารดีกว่าด้วย)

 

26178718_10155915514828490_1775648272_o.jpg

 

11-1.jpg

 

26237566_10155915508063490_1958945961_o.jpg



#13 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:44 PM

ปัจจุบันนั้น โบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์นั้นมีด้วยกัน 3 รุ่นคือ 787-8 787-9 ซึ่งสองรุ่นนี้นั้นได้มีการให้บริการในสายการบินต่าง ๆ แล้ว ส่วนอีกรุ่นซึ่งเป็นรุ่นใหญ่ที่สุดอย่าง 787-10 นั้นกำลังอยู่ระหว่างการผลิตและทดสอบ โดยจะมีการส่งมอบให้กับสายการบินลูกค้ารายแรกในปี 2018 นี้

 

12-1.jpg

 

12-2.jpg



#14 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:45 PM

สำหรับ 787 ดรีมไลเนอร์นั้น ได้กล่าวไปแล้วว่านอกเหนือจากที่เอฟเวอร์เร็ตแล้วยังมีสายการผลิตที่เซาท์ แคโรไลน่า อีกที่หนึ่ง โดยในปัจจุบันนั้นมียอดสั่ง 787 ดรีมไลเนอร์แล้วมากกว่า 1280 ลำ และมีการส่งมอบไปแล้วประมาณ 625 ลำ นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปี 2004 และเริ่มส่งมอบให้กับสายการบินลูกค้ารายแรกเมื่อปี 2011

 

หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการในโรงงานแล้วเครื่องก็จะถูกลากออกไปด้านนอก เพื่อไปเข้าโรงทำสี ไปทดสอบภาคพื้น ไปทดสอบการบิน เตรียมให้สายการบินลูกค้ามารับมอบและมีการส่งมอบให้แก่สายการบินลูกค้าต่อไป โดยมีศูนย์ส่งมอบของโบอิ้ง Boeing Delivery Center อยู่ตรงข้ามกันภายในพื้นที่ของสนามบินเพนฟิลด์นี่แหละ หลัก ๆ ก็จะใช้ส่งมอบเครื่องบินลำตัวกว้างที่ผลิตที่นี่(หรืออาจจะประกอบที่เซาท์ แคโรไลน่า แต่บางลำบินมาทำสี หรือทดสอบหรือติดอะไรเพิ่มเติมที่นี่)

 

13-1.jpg

 

26511080_10155915519623490_97017986_o.jpg

 

13-3.jpg



#15 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:46 PM

 ออกจากตัวอาคารมาดูส่วนอื่น ๆ กันบ้าง เราได้กล่าวไปแล้วว่าชิ้นส่วนเครื่องบินที่นำมาประกอบที่นี่นั้นบางส่วนก็ส่งมาทางเครื่องบิน ซึ่งบินมาทั้งจากในประเทศและนอกประเทศสหรัฐฯ โดยเครื่องบินที่จะใช้ขนส่งเครื่องบินได้ก็ต้องมีหน้าตาประหลาดหน่อยแบบนี้

 

นี่คือ Boeing 747-400 Large Cargo Freighter(LCF) หรือที่มีชื่อเรียกว่า Boeing Dreamlifter เป็นเครื่องบินที่ดัดแปลงจาก 747-400 มาใช้เพื่อการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ นั่นก็คือชิ้นส่วนเครื่องบินที่จำนำมาประกอบเป็น 787 โดยเฉพาะ(แต่ถ้ามีการจ้างไปขนอย่างอื่นก็ได้นะ) โดยปัจจุบันนี้มีอยู่เพียง 4 ลำ เท่านั้น

 

 

14.jpg



#16 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:47 PM

มาดูความสามารถในการขนส่ง สามารถเปิดหางมาเพื่อให้เข้าถึงห้องระวางสินค้าขนาดใหญ่แบบนีได้ 

 

ชิ้นส่วนของ 787 นั้นจะมีการผลิตขึ้นจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลกเลยนะ และดรีมลิฟเตอร์นี่ก็มีหน้าที่ที่ไปขนส่งชิ้นส่วนบางอย่างมาที่สายการผลิตนี่ จากในเอเชียก็มี อย่างปีกนี่ผลิตที่ญี่ปุ่นที่นาโกย่า เราจึงจะเห็นดรีมลิฟเตอร์ที่นาโกย่า ลำตัวส่วนหน้าก็มาจากนาโกย่า นอกจากนั้นยังมีชิ้นส่วนที่ไม่ใหญ่อย่างเช่นปลายปีก ตัวยึดแฟลปที่มาจากปูซาน รัดเดอร์จากเฉิงตู เป็นต้น

 

 

15-1.jpg

 

15-2.jpg



#17 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:47 PM

เมื่อขนชิ้นส่วนออกมาจากยานพาหนะที่ใช้ส่งแล้วอาจจะเป็นเครื่องบินหรือรถไฟ ก็จะมีรถขนส่งไปเข้าโรงงานเพื่อเข้าสายการประกอบต่อไป

 

16-1.jpg

 

16-2.jpg



#18 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:48 PM

ส่วนนี่ก็เป็นอีกมุมหนึ่งที่สนามบินเพนฟิลด์ ที่โรงงานโบอิ้ง เอฟเวอร์เร็ต มีเครื่องบินจอดรอการผลิตและส่งมอบมากมาย สำหรับใครที่สนใจจะมาเยี่ยมชมที่นี่ จะมี Future of Flight Museum และ Boeing Everett ซึ่งเป็นบริการนำชมโรงงานที่นี่สำหรับบุคคลทั่วไป สนใจก็มาติดต่อได้ที่ตรง Future of Flight Museum 

 

17.jpg



#19 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:49 PM

จากเอฟเวอร์เร็ต เราพามายังโรงงานซึ่งเป็นสายการประกอบเครื่องบินขั้นสุดท้ายอีกรุ่นของโบอิ้งนั่นก็คือ โบอิ้ง 737 ทั้งรุ่น NG และ MAX ในปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ที่ (Renton - RNT/KRNT) ทางตอนใต้ของเมืองซีแอทเทิล

 

อาคารโรงงานที่เรนตันนี่อาจจะไม่ได้ดูใหญ่แบบที่เอฟเวอร์เร็ต แต่ก็มีความสำคัญ นั่นก็คือสายการผลิตของโบอิ้ง 737 ทั้งหมดนั้นอยู่ที่นี่ ไม่มีที่อื่นอีกในโลก และตัวพื้นที่ตรงนี้ก็เคยเป็นสายการประกอบขั้นสุดท้ายของเครื่องบิน DC8 707 727 และ 757 บรรดารุ่นในตำนานทั้งหลาย นั่นเอง

 

ตัวพื้นที่ตรงนี้มีพื้นที่ 579 ไร่ โดยมีอาคารที่มีพื้นทีรวม 399,483 ตร.ม.

 

18-1.jpg

 

18-2.jpg



#20 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 30 December 2017 - 05:49 PM

เมื่อมาถึงโรงงานเราอาจจะเห็นรถไฟกำลังวิ่งมาพร้อมกับขนส่งลำตัวเครื่องบินมาด้วยแบบนี้ สายการประกอบที่นี่ก็เช่นเดียวกับสายการประกอบเครื่องบินคือ เป็นการประกอบชิ้นส่วนทีผลิตและติดตั้งอุปกรณ์จากที่อื่นแล้วเข้าด้วยกัน อาจจะมีการติดอุปกรณ์เพิ่มและมีการติดระบบเพิ่มด้วย

 

โดยชิ้นส่วนลำตัวของโบอิ้ง 737 เหล่านี้นั้นจะขนส่งมาจากเมืองวิชิตา รัฐแคนซัสซึ่งอยู่กลางประเทศสหรัฐฯ เลยและก็ขนมาทั้งชิ้นแบบนี้เลย ใช้เวลาประมาณ 8 วัน

 

TEK_4088.jpg

 

TEK_4098.jpg






0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users

ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Galileo (แสดงผล waiting list)     ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Amadeus (เแสดงเฉพาะที่นั่งว่าง)
   
    ติดต่อเจ้าหน้าที่แผนก ตั๋วเครื่องบิน โทร 02-3737-555 / จันทร์ - ศุกร์ 09.00~18.00 น. // เสาร์ 09.00-16.00 น.