Jump to content



 
จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม จองรถเช่า
แผนกบริการลูกค้า โทร 02-3737-555 จันทร์ - เสาร์ 09.00-18.00น.

 

ค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและการบินในเอชไฟล์ท เชิญด้านล่างนี้

หน้าแรก | เว็บบอร์ดรีวิว | จองตั๋วเครื่องบิน | จองโรงแรม | เที่ยวต่างประเทศ | เที่ยวในประเทศ | ลงโฆษณา

บุกไปโรงงาน Airbus ถึงฝรั่งเศส กับภารกิจพา A320neo ลำใหม่ของ Thai AirAsia บินกลับสู่ประเทศไทย


  • Please log in to reply
66 replies to this topic

#1 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

 


Posted 04 May 2017 - 02:57 PM

Advertisements

บุกไปโรงงาน Airbus ถึงฝรั่งเศส กับภารกิจพา A320neo ลำใหม่ของ Thai AirAsia บินกลับสู่ประเทศไทย
เรื่อง : JK..LSKY ภาพ : JK..LSKY , TEK
 

สวัสดีครับ

เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมาทีมงานHFLIGHT มีโอกาสได้เดินทางไปยังเมืองตูลุส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของแอร์บัส โรงงานและสายการผลิตขั้นสุดท้ายของเครื่องบินทุกรุ่นของแอร์บัส ซึ่งภารกิจที่เราเดินทางไปถึงตูลุสในครั้งนี้ก็เพราะว่าจะพาท่านผู้อ่านทุกท่าน ไปดูว่ากว่าจะมาเป็นเครื่องบินลำใหม่ของแอร์บัสที่สายการบินต่าง ๆ นำไปให้บริการผู้โดยสารนั้น จะมีขั้นตอนในการผลิตและประกอบอย่างไร และสายการบินจะต้องมีดำเนินการอย่างไรในการตรวจสอบและรับมอบเครื่องบินลำใหม่ว่ามีความสมบูรณ์และพร้อมให้บริการผู้โดยสารแล้ว รวมไปถึงเราจะพาทุกคนบินกับเที่ยวบินส่งมอบ ด้วยเครื่องบินลำใหม่ Airbus A320neo ของไทยแอร์เอเชีย จากโรงงานที่ตูลุส จนมาถึงดอนเมืองที่กรุงเทพฯ ไปดูบรรยากาศกันว่าบนเที่ยวบินส่งมอบเครื่องบินใหม่ มาประจำการในฝูงบินของสายการบินนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง

เรามีวิดีโอสำหรับรีวิวครั้งนี้ด้วย ตามไปชมบรรยากาศการเดินทางทั้งในห้องโดยสารและห้องนักบินในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวได้ที่



แต่ถ้าอยากอ่านเรื่องราวการเดินทางพร้อมภาพและรายละเอียดมากมายก็มาดูกันในกระทู้นี้ ตอนนี้ตามไปที่ตูลุสเลยกันดีกว่า (อ้อ ท้ายรีวิวเรามีรางวัลของที่ระลึกจากแอร์บัสและแอร์เอเชียมาแจกกันด้วยนะ)

DSC_1673 copy.jpg





Advertisements

#2 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 04 May 2017 - 03:28 PM

เมืองตูลุสนั้นเป็นเมืองใหญ่อันดับ 4 ของฝรั่งเศส (รองจากปารีส ลียง และมาร์เซย์) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศห่างจากกรุงปารีสประมาณ 680 กิโลเมตร หลาย ๆ คนมักจะเรียกเมืองนี้ว่าเป็นเมืองสีชมพู (แต่ผมว่ามันเป็นสีส้มมากกว่า) เพราะสีของอาคารบ้านเรือนย่านใจกลางเมืองนั้นจะทำมาจากอิฐสีออกแดง ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเมืองนี้ ลองดูภาพเมืองตูลุสที่ถ่ายจากเครื่องบิน ก็จะเห็นว่าอาคารบ้านเรือนในเขตเมืองนั้นออกเป็นสีชมพูส้ม ๆ ทั้งหมดเลย

ตูลุสอยู่บนฝั่งแม่น้ำ Garrone และเมืองนี้ก็มีความสำคัญมาตั้งแต่ยุคกลาง และเป็นเมืองเอกของหลายแคว้นหลายดินแดนมาตลอดระยะเวลานับพันปี จนกระทั่งปัจจุบัน ตูลุสถือเป็นเมืองหลวงของภูมิภาค Occitanie ของฝรั่งเศส

File 5-4-2560 BE, 15 02 24 copy.jpg

DSC_8234-2.jpg

DSC_8293.jpg

DSC_8298.jpg

#3 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 04 May 2017 - 03:38 PM

อย่างที่บอกไปว่าเมืองนี้นั้นเป็นเมืองเก่า ก็จะมีสถานที่น่าสนใจในแง่ประวัติศาสตร์หลายแห่ง อย่างโบสถ์ที่มีหอระฆังยอดสูงนี้คือ Saint-Sernin Basilica เป็นโบสถ์แบบโรมาเนสค์ที่ใหญ่ที่ในยุโรปสร้างตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 11-13 และยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก

DSC_8258.jpg

DSC_8283.jpg

ส่วนม้าหมุนนี่ก็เป็นบรรยากาศมุมหนึ่งใจกลางเมืองตูลุส

DSC_8300.jpg

#4 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 04 May 2017 - 03:47 PM

แต่นอกจากเรื่องในประวัติศาสตร์แล้ว ตูลุสยังเป็นเมืองไฮเทค เมืองนี้นั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของยุโรป เพราะเป็นที่ตั้งของบริษัทด้านเทคโนโลยีการบินและอวกาศหลาย ๆ แห่งรวมไปถึงสำนักใหญ่ของแอร์บัส บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน เทคโนโลยีการบินและอวกาศยักษ์ใหญ่ของยุโรป และในอดีตโครงการผลิตเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงที่มีชื่อเสียงก้องโลกอย่างคองคอร์ดก็มีการผลิตที่ตูลุส

TEK_6235.jpg

DSC_0096.jpg

DSC_0099.jpg

#5 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 04 May 2017 - 03:50 PM

สำหรับแอร์บัสเองนั้น ที่ตูลุสนั้นเป็นที่ตั้งของสายการผลิตขั้นสุดท้าย(Final Assembly Line)ของเครื่องบินในทุก ๆ รุ่นของแอร์บัส ทั้ง เอ320 เอ330 เอ350เอ็กซ์ดับเบิลยูบี และเอ380 โดยสำหรับตระกูล เอ320 นั้นนอกเหนือจากที่ตูลุสแล้ว แอร์บัสยังมีสายการผลิตขั้นสุดท้ายกระจายอยู่ในอีก 3 แห่งทั่วโลก ได้แก่ที่ฮัมบูร์ก(Hamburg) ประเทศเยอรมนี เทียนจิน(Tianjin) ประเทศจีน และเมืองโมบิล(Mobile) รัฐแอละแบมา สหรัฐอเมริกา

DSC_8476.jpg

DSC_8467.jpg

DSC_8479.jpg

DSC_8034.jpg

#6 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 04 May 2017 - 04:03 PM

สำหรับขั้นตอนก่อนจะได้เครื่องบินใหม่สักลำหรือสักรุ่นเข้ามาประจำการในสายการบินนั้น ก่อนที่บรรดาสายการบินทั้งหลายจะสั่งซื้อหรือวางแผนจะนำเข้าประจำการ(หรืออาจจะสั่งซื้อแล้ว แต่อยู่ในระหว่างการปรับรายละเอียดเฉพาะของลักษณะการตกแต่ง ที่นั่ง อุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องโดยสาร) ตัวแทนจากสายการบินก็จะมาที่แอร์บัส เพื่อมาที่ Mock Up Centre แห่งนี้ ซึ่งสายการบินจะได้ลองสัมผัสคร่าว ๆ ว่า ตัวเลือกของการปรับแต่งในห้องโดยสารของเครื่องบินแต่ระรุ่นจะเป็นอย่างไรได้บ้าง การจัดวางที่นั่งแบบต่าง ๆ ลักษณะของเก้าอี้ บรรยากาศและความรู้สึกเมื่อได้เข้าไปอยู่ในห้องโดยสารของเครื่องบินแต่ละรุ่นจะเป็นอย่างไร สอดคล้องเหมาะสมกับลักษณะการดำเนินธุรกิจของสายการบินที่ต้องการนำไปให้บริการผู้โดยสารหรือเปล่า

DSC_8307.jpg

DSC_8313.jpg

DSC_8316.jpg

#7 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 04 May 2017 - 04:41 PM

จากนั้นเมื่อสายการบินได้กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของเครื่องบินที่จะรับมอบได้แล้ว เช่น ใช้เครื่องยนต์อะไร ใส่เก้าอี้กี่ที่นั่งรุ่นไหนแบบไหน ห้องโดยสารห้องครัวเป็นอย่างไรปรับแต่งได้ไหมอย่างไรไหม อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการ ก็คือสเปคทุก ๆ อย่างก็จะมีการเริ่มการผลิตและประกอบเครื่องบิน

เรื่องการผลิตหรือประกอบเครื่องบินใหม่นั้น แม้ตูลุสจะเป็นที่ตั้งของสายการผลิตขั้นสุดท้ายของเครื่องบินตระกูล เอ320 (และทุกตระกูลของแอร์บัส)แต่แท้ที่จริงแล้วจุดเริ่มต้นของเครื่องบิน เอ320 นั้นกระจายอยู่ทั่วยุโรป โดยจะมีการประกอบส่วนต่าง ๆ ของเครื่องบินจากโรงงานแอร์บัสที่ตั้งอยู่ในเมืองต่าง ๆ ในหลายประเทศ

- ลำตัวของเครื่องบิน เอ320 นั้นจะถูกประกอบแยกเป็นสองส่วน ส่วนต้นจะประกอบขึ้นที่เมืองแซงต์ นาแซร์ (Saint-Nazaire) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ส่วนท้ายของลำตัวเครื่องนั้นประกอบขึ้นในเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี โดยจะมีการติดตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ให้เสร็จสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายไฟ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบปรับอากาศ รวมไปถึงมีการทดสอบระบบเรียบร้อยแล้วตั้งแต่อยู่ที่โรงงานประกอบชิ้นส่วนเหล่านั้น
- ปีกทั้งสองข้างที่มีการผลิตขึ้นที่เมืองบรอธ์ตัน( Broughton) ทางตอนเหนือของแคว้นเวลส์ในสหราชอาณาจักร
- แพนหางดิ่งนั้นผลิตขึ้นในเมืองสตาด (Stade) ประเทศเยอรมนี
- แพนหางระดับนั้นจะถูกประกอบขึ้นในเมืองเปอร์โต เรอัล(Puerto Real) ทางตอนใต้ของสเปน

ส่วนต่าง ๆ ของเครื่องบิน เอ320 ที่ถูกประกอบและผลิตขึ้นจากสถานที่ต่าง ๆ ทั่วยุโรปข้างต้นนั้นจะถูกขนส่งมารวมกันที่สายการผลิตขั้นสุดท้ายที่ตูลุส ด้วยเครื่องบินแบบพิเศษที่เรียกว่า แอร์บัส เบลูก้า (Beluga) ซึ่งเป็นเครื่องบินพิเศษที่ดัดแปลงมากจากเครื่องบินแบบ เอ300 สำหรับไว้ขนส่งชิ้นส่วนเครื่องบินที่ประกอบขึ้นจากโรงงานต่าง ๆ ของแอร์บัสโดยเฉพาะ ทำให้มีหน้าตาประหลาดคือมีส่วนลำตัวที่ใหญ่เป็นโหนกคล้ายกับวาฬเบลูก้า (beluga whale)
(เอ320 เป็นเครื่องบินตระกูลที่เล็กที่สุดของแอร์บัส ส่วนหลัก ๆ ของเครื่องบินจึงสามารถขนส่งด้วยเบลูก้าได้ทั้งหมด แต่สำหรับเครื่องบินรุ่นที่ใหญ่กว่านั้น ก็อาจจะมีบางส่วนที่จะต้องขนส่งทางเรือและทางถนน อย่างชิ้นส่วนหลักของ เอ380 นั้นมีเพียงส่วนเดียวที่ขนส่งด้วยเบลูก้าได้นั่นก็คือแพนหางดิ่ง ส่วนอื่นๆ จะต้องขนส่งทางเรือและมาต่อรถจนมาถึงโรงงานแอร์บัส)

หน้าตาของเบลูก้าก็เป็นแบบนี้ ในภาพล่างกำลังมีการขนถ่ายลำตัวและปีกของ เอ320

TEK_6070 copy.jpg

MSN 6101 First NEO fuselage loading into Beluga from HAM to TLS(1) copy.jpg
ภาพ : Airbus

ปีกของเครื่องบิน เอ320นีโอถูกขนส่งมาโดยเครื่องบินเบลูก้า(2) copy.jpg
ภาพ : Airbus



#8 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 04 May 2017 - 07:32 PM

เมื่อส่วนต่างๆ ของเครื่องบินลำใหม่ที่ถูกประกอบขึ้นจากทั่วยุโรปดังที่เล่าไปในโพสต์ก่อนหน้านี้ ถูกขนส่งมารวมกันที่ตูลุสด้วยเครื่องบินเบลูก้า เรียบร้อยแล้ว ก็จะเริ่มขั้นตอนการประกอบส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันให้เป็นรูปเป็นร่างของเครื่องบินลำใหม่ที่สายการผลิตขั้นสุดท้ายแห่งนี้ โดยสายการผลิตขั้นสุดท้ายของเครื่องบินตระกูล เอ320 ที่ตูลุสนั้น มีพื้นที่กว่า 28 ไร่ มีคนทำงานมากกว่า 750 คนและการประกอบหลัก ๆ นั้นอยู่ในอาคารชื่อว่า M91 ซึ่งมีความสำคัญคือ สร้างมาตั้งแต่ปี 1958 และเป็นอาคารที่เคยใช้ในการประกอบเครื่องบินคองคอร์ดในอดีต

FAL_A320neo__station_41_ copy.jpg
ภาพ : Airbus

#9 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 04 May 2017 - 07:41 PM

จะเริ่มต้นสถานีแรกด้วยการเชื่อมลำตัวเครื่องบินทั้งส่วนหัวและส่วนท้ายเข้าด้วยกัน การเชื่อมต่อนั้นจะใช้นั่งร้านแบบพิเศษไปครอบไว้ตรงรอยต่อเพื่อจะดำเนินการเชื่อมต่อกันด้วยหมุดย้ำ เรียกว่า orbital riveting

TEK_5929.jpg

TEK_5928.jpg

#10 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 04 May 2017 - 08:03 PM

ตอนนี้เครื่องบินยังไม่มีล้อนะ พอลำตัวทั้งส่วนหัวและท้ายเชื่อมกันกันเสร็จแล้ว ก็จะถูกยกด้วยเครนเลื่อนไปยังสถานีถัดไป

ที่สถานีนี้เองจะมีการติดตั้งปีกทั้งสองข้างโดยใช้สกรูมากกว่า 2500 ตัวเพื่อเชื่อมปีกเข้ากับลำตัว ชุดล้อและที่ยึดเครื่องยนต์ของเครื่องบิน(pylon) ก็จะถูกติดตั้งในสถานีนี้ด้วยเช่นกัน ในขณะที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องนักบินไปพร้อมกัน ๆ

DSC_8364.jpg

TEK_5938.jpg

TEK_5940.jpg

#11 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 04 May 2017 - 10:28 PM

ตอนนี้เครื่องบินก็ได้ติดตั้งล้อแล้ว หลังจากนี้เครื่องบินจะเคลื่อนไปยังสถานีถัดไปด้วยล้อของตัวเอง เรียกได้ว่าเป็นการสัมผัสพื้นครั้งแรกของเครื่องบินลำใหม่ก็ว่าได้

ในสถานีถัดไปนี้จะมีการติดตั้งแพนหางดิ่งและแพนหางระดับเข้ากับตัวเครื่อง พร้อมทั้งมีการเชื่อมระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบไฮดรอนลิค ระบบน้ำและการหมุนเวียนอากาศ โดยสิ่งที่ดูโดดเด่นสดใสที่สุดในการประกอบชิ้นส่วนในสายการผลิตขั้นสุดท้าย นั่นก็คือตัวแพนหางดิ่งที่จะมีการเพนท์ลวดลายของสายการบินเรียบร้อยแล้วมาตั้งแต่โรงงานผลิตในเยอรมนี แต่ส่วนอื่น ๆ ของเครื่องบินจะยังไม่ได้รับการลงสีเป็นลวดลายของสายการบิน ในสถานีนี้เราจึงจะเห็นเครื่องบินลำใหม่มีหางที่สวยงามบนลำตัวสีเขียวหรือครีมซึ่งเป็นสีเคลือบภายนอกของตัววัสดุ

หางที่เห็นนี่ไม่ใช่ของลำที่เรากำลังจะรับมอบพากลับกรุงเทพฯ นะ เป็น เอ320นีโอลำอื่นของกลุ่มแอร์เอเชียที่กำลังอยู่ในสายการผลิต

TEK_5952.jpg

TEK_5943.jpg

TEK_5950.jpg

DSC_8391.jpg

#12 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 04 May 2017 - 11:11 PM

ต่อจากนั้นเครื่องบินจะถูกเคลื่อนย้ายไปยังอาคารอีกแห่งหนึ่งคือ อาคาร M15 ที่อยู่ใกล้กันเพื่อติดตั้งเครื่องยนต์ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่งของเครื่องบินก็ว่าได้ โดยสำหรับเอ320นีโอนั้น เครื่องยนต์รุ่นใหม่ล่าสุดก็จะถูกติดตั้งเข้ามาในขั้นตอนนี้

เมื่อก่อนนั้นเครื่องบินจะต้องติดเครื่องยนต์แล้วบินไปทำการติดตั้งห้องโดยสารที่ฮัมบูร์ก แต่ว่าสองสามปีที่ผ่านมาแอร์บัสมีการเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินตระกูล เอ320 จึงพยายามทำให้ขั้นตอนบางอย่างดำเนินการไปพร้อมกันได้มากขึ้น ดังนั้นแล้วในขั้นตอนการทดสอบต่างๆ และระหว่างการติดตั้งเครื่องยนต์ที่ตูลุสนั้น ก็จะมีการเริ่มติดตั้งอุปกรณ์ในห้องโดยสาร เช่น เก้าอี้ที่นั่งผู้โดยสาร ที่เก็บสัมภาระ อุปกรณ์ในห้องน้ำ อุปกรณ์ในครัว เป็นต้น

จะมีการทดสอบและเปิดใช้งานระบบไฟฟ้าพลังงานของเครื่องบินเป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับ การติดตั้งระบบเชื้อเพลิงและเรดาร์ รวมไปถึงระบบอื่น ๆ อีก 85 ระบบ เช่น ทดสอบระบบล้อ ทดสอบระบบรัดเดอร์(หางเสือ) ปิดช่องเปิดที่พื้นให้หมด ทดสอบประตู ทั้งหมดจะได้รับการติดตั้งและทดสอบ จากนั้นจะมีการนำเครื่องบินไปเพนท์สีภายนอกให้เป็นลวดลายของสายการบินในโรงเพนท์สี และก็นำมาจอดนอกอาคารเพื่อทดสอบระบบภาคพื้นอีกหลายขั้นตอน เช่น ตรวจสอบความดันในห้องโดยสาร ตรวจสอบว่ารอยรั่วถังน้ำมัน และเตรียมการขึ้นบินทดสอบเที่ยวบินแรก และดำเนินการขั้นตอนการรับมอบของสายการบินลูกค้าต่อไป

เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เล่ามาทั้งหมดตั้งแต่ส่วนต่าง ๆ ของเครื่องบินแบบ เอ320 ถูกขนส่งมารวมกันที่ตูลุสและเริ่มการประกอบที่สายการประกอบขั้นสุดท้าย จนถึงส่งมอบให้กับสายการบินนั้นจะใช้เวลาประมาณเพียง 36 วัน

โดยแอร์บัสนั้นมีอัตราการผลิตเครื่องบิน เอ320 จากทั้งสายการประกอบทั้ง 4 แห่งรวมกันอยู่ที่ 50 ลำต่อเดือน ในไตรมาส 1 ของปี 2017 แต่ว่าจะเพิ่มอัตราการผลิตให้ถึง 60 ลำต่อเดือนในกลางปี 2019

TEK_5955 copy.jpg

TEK_5957 copy.jpg

#13 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 05 May 2017 - 02:02 AM

เมื่อเครื่องบินลำใหม่นั้นประกอบเสร็จและได้รับการทดสอบจากฝั่งแอร์บัส เรียบร้อยจนทางแอร์บัสคิดว่าพร้อมจะส่งมอบแล้วนั้น สายการบินลูกค้าก็จะส่งทีมงานเดินทางมารับมอบเครื่องบิน โดยคุณบัญญัติ หรรษกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมสายการบินไทยแอร์เอเชีย ซึ่งเดินทางมารับมอบเครื่องบินลำใหม่นี้ในนามสายการบินก็เล่าให้เราฟังว่า ในระหว่างที่เครื่องบินลำใหม่อยู่ในสายการผลิตนั้น สายการบินลูกค้าอย่างแอร์เอเชียก็จะมีการตรวจสอบการผลิตเครื่องบินที่จะรับมอบเป็นระยะ ๆ ผ่านทางบริษัทตัวแทนที่ได้รับความเชื่อถือ ซึ่งจะคอยส่งรายงานให้สายการบินเป็นรายสัปดาห์รวมไปถึงแจ้งหากเครื่องบินที่อยู่ในสายการบินผลิตนั้นมีปัญหา ในขณะเดียวกันแอร์บัสก็มีระบบรายงานของตนเองเช่นกัน ซึ่งสายการบินก็จะสามารถรู้สถานะของเครื่องบินที่กำลังประกอบอยู่ได้โดยตลอด เมื่อเครื่องบินลำใหม่ผ่านการผลิตและทดสอบอย่างสมบูรณ์จากแอร์บัสแล้ว สายการบินก็จะส่งทีมงานมาเพื่อตรวจสอบและรับมอบเครื่องบิน โดยทีมงานของสายการบินไทยแอร์เอเชียที่เดินทางมารับมอบเครื่องบินนั้นจะประกอบไปด้วยทีมงาน 5 คน คือผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมซึ่งได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้รับมอบเครื่องบินในนามสายการบิน กัปตันซึ่งทำหน้าที่นักบินทดสอบ 1 คน หัวหน้าฝ่ายเทคนิค 1 คน พนักงานฝ่ายรับรองคุณภาพ 1 คน และช่างอากาศยานที่ถือใบอนุญาตสำหรับเครื่องบินประเภทนั้น ๆ อีก 1 คน

ซึ่งตอนนี้เราก็มาอยู่ที่ศูนย์ส่งมอบเครื่องบินของแอร์บัส หรือ Airbus Delivery Centre ที่ตูลุส โดยทีมรับมอบเครื่องบินจากสายการบินลูกค้า ก็จะมาทำงานร่วมกับแอร์บัสในขั้นตอนการตรวจสอบ ตรวจรับรับมอบต่าง ๆ โดยจะมีการตรวจสอบทุกอย่างของเครื่องบินลำใหม่ให้เห็นสายการบินลูกค้าดูว่าเรียบร้อย ซึ่งทีมรับมอบของสายการบินลูกค้าก็จะมาปักหลักกันที่ตูลุสนั่งทำงานร่วมกับทีมส่งมอบของแอร์บัสที่ศูนย์ส่งมอบนี่แหละ อย่างห้องนี้จะมีป้ายบอกไว้เลยว่าสำหรับทีมงานของไทยแอร์เอเชีย

DSC_1426.jpg

DSC_8415-2.jpg

DSC_8422.jpg

#14 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 05 May 2017 - 02:07 AM

คุณบัญญัติเล่าต่อว่า ทีมงานของสายการบินไทยแอร์เอเชียที่เดินทางมารับมอบเครื่องบินนั้นจะประกอบไปด้วยทีมงาน 5 คน คือผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมซึ่งได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้รับมอบเครื่องบินในนามสายการบิน กัปตันซึ่งทำหน้าที่นักบินทดสอบ 1 คน หัวหน้าฝ่ายเทคนิค 1 คน พนักงานฝ่ายรับรองคุณภาพ 1 คน และช่างอากาศยานที่ถือใบอนุญาตสำหรับเครื่องบินประเภทนั้น ๆ อีก 1 คนในระหว่างที่เครื่องบินลำใหม่อยู่ในสายการผลิตนั้น สายการบินลูกค้าอย่างแอร์เอเชียก็จะมีการตรวจสอบการผลิตเครื่องบินที่จะรับมอบเป็นระยะ ๆ ผ่านทางบริษัทตัวแทนที่ได้รับความเชื่อถือ ซึ่งจะคอยส่งรายงานให้สายการบินเป็นรายสัปดาห์รวมไปถึงแจ้งหากเครื่องบินที่อยู่ในสายการบินผลิตนั้นมีปัญหา ในขณะเดียวกันแอร์บัสก็มีระบบรายงานของตนเองเช่นกัน ซึ่งสายการบินก็จะสามารถรู้สถานะของเครื่องบินที่กำลังประกอบอยู่ได้โดยตลอด เมื่อเครื่องบินลำใหม่ผ่านการผลิตและทดสอบอย่างสมบูรณ์จากแอร์บัสแล้ว สายการบินก็จะส่งทีมงานมาเพื่อตรวจสอบและรับมอบเครื่องบิน โดยทีมงานของสายการบินไทยแอร์เอเชียที่เดินทางมารับมอบเครื่องบินนั้นจะประกอบไปด้วยทีมงาน 5 คน คือผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมซึ่งได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้รับมอบเครื่องบินในนามสายการบิน กัปตันซึ่งทำหน้าที่นักบินทดสอบ 1 คน หัวหน้าฝ่ายเทคนิค 1 คน พนักงานฝ่ายรับรองคุณภาพ 1 คน และช่างอากาศยานที่ถือใบอนุญาตสำหรับเครื่องบินประเภทนั้น ๆ อีก 1 คน ขั้นตอนการตรวจสอบนั้นก็จะเริ่มต้นด้วยการประชุมและสรุปข้อมูลกับแอร์บัสว่าจากการผลิตเป็นอย่างไรบ้าง

และตอนนี้เราก็จะได้พบกับ เครื่องบินลำใหม่ป้ายแดง เอ320นีโอ ลำที่สามของไทยแอร์เอเชียที่เรามีภารกิจมาพากลับกรุงเทพฯ ด้วยจอดรออยู่แล้วที่ศูนย์ส่งมอบแห่งนี้เพื่อรอการตรวจสอบและรับมอบจากทีมงานรับมอบเครื่องบินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย

TEK_5993.jpg

DSC_8424.jpg

TEK_5969.jpg

#15 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 05 May 2017 - 03:44 AM

หลายคนคงรู้จักแอร์บัส เอ320 กันแล้วว่าเป็นตระกูลเครื่องบินทางเดินเดี่ยวยอดนิยมของแอร์บัส โดยแอร์บัส เอ320 นั้นขึ้นบินครั้งแรกตั้งแต่ ปี 1987 ตอนนี้ก็ 30 ปีมาแล้ว โดยตลอด 30 ปีที่ผ่านมาแอร์บัส ได้ส่งมอบเครื่องบินในตระกูล เอ320 ไปแล้วกว่า 7,400 ลำ แต่ว่าแม้จะเปิดตัวมากมากว่า 30 ปีแล้ว เอ320 ก็ยังไม่ใช่เครื่องบินที่ล้าสมัย เพราะได้มีการปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ (หากเราเดินขึ้นเครื่อง เอ320 ลำแรก ๆ เมื่อเกือบสามสิบปีที่แล้ว กับขึ้นเครื่องลำใหม่ ๆ อาจจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันอย่างมากเลยก็ได้) การพัฒนานั้นก็รวมถึงการแนะนำเครื่องบินตระกูล320นีโอ อันจะประกอบไปด้วย เอ320นีโอ เอ319นีโอ และเอ321นีโอ (ส่วน เอ318 นั้นไม่มีนีโอ)

แอร์บัส เอ320นีโอ (Airbus A320neo) คำว่า neo นั้นย่อมาจาก New Engine Option คือเป็นเครื่องบินเอ320ที่ติดตั้งเครื่องยนต์แบบใหม่ที่ทันสมัย ประหยัดการใช้เชื้อเพลิงและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับเครื่องบินเอ320 รุ่นเดิม โดยสำหรับแอร์เอเชียนั้นจะเลือกใช้เครื่องยนต์ CFM Leap-1A สำหรับเครื่องบิน เอ320นีโอ

เครื่องยนต์รุ่นใหม่ของ เอ320นีโอมีขนาดใหญ่มากโดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร ใหญ่กว่าความกว้างห้องโดยสารของเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวหลาย ๆ รุ่นเสียอีก

TEK_5978.jpg

TEK_5981.jpg

TEK_5985.jpg

#16 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 05 May 2017 - 03:37 PM

ตอนนี้เครื่องบินพร้อมแล้วที่จะให้นักบินทดสอบของไทยแอร์เอเชียไปขึ้นบินทดสอบ หากสังเกตุดูจะเห็นว่าตอนนี้เครื่องบินยังเป็นทะเบียนสัญชาติฝรั่งเศสอยู่นะครับ คือ F-WWBX ซึ่งเป็นทะเบียนขณะใช้ในการผลิตและทดสอบตามสัญชาติที่ตั้งของโรงงาน เพราะว่ายังถือว่ายังเป็นทรัพย์สินของแอร์บัส สายการบินยังไม่ได้รับมอบไป ตอนนี้อยู่ในระหว่างการตรวจสอบความเรียบร้อยเพื่อรับมอบ แต่ว่าจะมีการเพนท์สีธงชาติไทยรวมไปถึงมีมาร์คกิงบางที่ว่าจะเป็นทะเบียนไทย HS-BBZ (เมื่อจะได้รับมอบในอีกไม่กี่วัน)แล้วในบางจุดเช่นที่ ล้อหน้า หรือที่ปีก

DSC_8410.jpg

TEK_5996.jpg

#17 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 05 May 2017 - 03:43 PM

การบินเที่ยวบินทดสอบในขั้นตอนการรับมอบ จะมีนักบินของแอร์บัส นักบินทดสอบของสายการบินขึ้นทำการบินคู่กัน รวมถึงทีมงานจากแผนกวิศวกรรมขึ้นไปกับเครื่องบินด้วยอีก 2 คน เพื่อตรวจสอบการทำงานทุกอย่างของเครื่องบินตามรายการที่จะให้ตรวจสอบ(Check list) ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสายการบิน

TEK_5998.jpg

TEK_6001.jpg

TEK_6003.jpg

TEK_6027.jpg

TEK_6030.jpg

#18 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 05 May 2017 - 04:11 PM

และตอนนี้เครื่องบิน เอ320นีโอลำใหม่ก็ขึ้นไปบินทดสอบแล้ว หลังจากเที่ยวบินทดสอบแล้วก็จะมีการตรวจสอบภาคพื้น คือมีการเดินเครื่องด้วยอัตราที่สูงและตรวจสอบรอบตัวเครื่องทั้งหมด และมีการเดินระบบที่สำคัญทั้งหมดของเครื่องบินเพื่อตรวจสอบ หากมีจุดต้องแก้ไขผู้ผลิตอย่างแอร์บัส ต้องดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อย สายการบินจึงจะรับมอบทางเทคนิคเครื่องบินได้

TEK_6077 copy.jpg

TEK_6074 copy.jpg

8. เครื่องบิน เอ320นีโอลำใหม่ ขณะออกไปทำการทดสอบภาคพื้นที่โรงงานแอร์บัส copy.jpg

#19 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 05 May 2017 - 04:25 PM

เมื่อระบบทั้งหมดถูกทดสอบและยอมรับโดยสายการบินแล้วหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินของประเทศฝรั่งเศสจะได้ออกใบรับรองให้เครื่องบินสามารถทำการบินได้ และก็จะมีการโอนกรรมสิทธ์ของเครื่องบิน พร้อมเปลี่ยนการจดทะเบียนเครื่องบินให้เป็นเครื่องบินสัญชาติไทยของสายการบินในเวลาต่อมาโดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ซึ่งเครื่องบินลำนี้ จะมีทะเบียนเป็นสัญชาติไทยคือ HS-BBZ เป็นแอร์บัส เอ320นีโอ ลำที่ 3 ของไทยแอร์เอเชีย และเครื่องบิน เอ320 ลำที่ 52 ของฝูงบินของไทยแอร์เอเชีย ตัวเครื่องนั้นมีรหัสสายการผลิตจากโรงงานแอร์บัสคือ MSN7508 และขณะผลิตและทดสอบจดทะเบียนสัญชาติฝรั่งเศส F-WWBX
 

เครื่องบินนั้นราคาลำหนึ่งเป็นพันล้านบาท อย่าง เอ320นีโอนั้นมีราคาที่แอร์บัสประกาศไว้สำหรับปี 2017 อยู่ที่ลำละ 108.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งราคานี้เป็นราคากลาง ราคาของสายการบินแต่ละสายที่ซื้อไปจริง ๆ อาจจะต่ำหรือสูงกว่านี้ก็ได้ม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่างจำนวนการสั่งซื้อ คุณสมบัติเพิ่มเติมบนเครื่องบินว่ามีการใส่ option อะไรเพิ่มบ้าง ระยะเวลาที่ต้องรอ หรือการเจรจาตกลงกัน ฯลฯ
 
หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วว่าเขามารับเครื่องบินนี่เงินหลายพันล้านเขาจ่ายกันอย่างไร เงินทุนหลายพันล้านสำหรับเครื่องบินแต่ละลำอาจจะเป็นภาระใหญ่หากต้องหาเงินมาซื้อก่อนแล้วค่อยเอาเครื่องบินไปใช้ทำการบินหารายได้ คงมีไม่กี่รายที่มาซื้อเครื่องบินด้วยเงินสด(ส่วนมากจะเป็นพวกมหาเศรษฐีที่ซื้อเครื่องบินไปใช้งานแบบส่วนบุคคล) แต่ส่วนใหญ่แล้วสายการบินต่าง ๆ จะใช้วิธีการหาเงินทุนสำหรับเครื่องบินใหม่ได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเช่าซื้อ การเช่ามาดำเนินการ การกู้เงินจากสถาบันการเงินแล้วนำเครื่องบินไปค้ำประกันเงินกู้นั้น เป็นต้น ซึ่งแต่ละสายการบินอาจใช้วิธีการแต่ละแบบแตกต่างกันสำหรับการรับเครื่องบินใหม่แต่ละลำก็ได้แม้จะสั่งซื้อลอตเดียวกัน เพื่อกระจายความเสี่ยงและก็กระจายแหล่งเงินทุน 
 

DSC_0229 copy.jpg

DSC_0232 copy.jpg



#20 ทีมข่าวHFLIGHT

ทีมข่าวHFLIGHT

    สมาชิก Business Class

  • Moderator Team
  • 9,839 posts

Posted 05 May 2017 - 05:14 PM

หลังจากมีการส่งมอบเครื่องบินเรียบร้อย ก็ถึงเวลาพาเครื่องบินใหม่กลับกรุงเทพฯ โดยการนำเครื่องบินลำใหม่จากโรงงานแอร์บัสกลับสู่ประเทศไทยนั้น จะดำเนินการโดยนักบิน 2 ชุดรวม 4 คน โดยนอกเหนือจากกัปตัน 1 คนที่เป็นนักบินทดสอบที่เดินทางมารับมอบเครื่องบินแล้วก็จะมีกัปตันอีก 1 คนและนักบินผู้ช่วยอีก 2 คนเดินทางตามมาเพื่อทำการบินนำเครื่องบินลำใหม่เดินทางจากตูลุสไปเข้าประจำการกับฝูงบินของไทยแอร์เอเชีย ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง

บรรดานักบินรวมถึงคณะที่จะเดินทางกลับพร้อมเครื่องก็จะเดินทางมายังศูนย์ส่งมอบเครื่องบินของแอร์บัส แล้วก็มาเริ่มประชุมสรุปแผนการเดินทางและข้อมูลต่าง ๆ สำหรับการทำการบินเที่ยวบินจากตูลุสไปกรุงเทพฯ

TEK_7099 copy.jpg

TEK_7117 copy.jpg




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users

ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Galileo (แสดงผล waiting list)     ค้นหา ตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ Amadeus (เแสดงเฉพาะที่นั่งว่าง)
   
    ติดต่อเจ้าหน้าที่แผนก ตั๋วเครื่องบิน โทร 02-3737-555 / จันทร์ - ศุกร์ 09.00~18.00 น. // เสาร์ 09.00-16.00 น.