คิดว่าทุกคนเข้าใจว่า ไทยสมายล์ กับ นกแอร์ ทั้ง 2 ต่างเป็นลูกป้าม่วงเหมือนกันหล่ะ
ไทยสมายล์ มีหน้าที่มาทำหน้าที่แทนการบินไทย ในเส้นทางบางที่ตัวแม่ไม่อยากจะบิน (เช่น กระบี่, สุราษฎร์ธานี และ มาเก๊า)
ซึ่งนกแอร์ก็เคยทำหน้าที่ตรงนั้นมาก่อน (เช่นเส้นทาง นครศรีธรรมราช, ตรัง, พิษณุโลก ที่บินแทน TG เมื่อหลายปีก่อน เป็นต้น)
ที่จะเกียว
เกี่ยวตรงคำว่า Positioning ไง ในเมื่อการบินไทยมีสายการบินรวมกันทั้งหมด 3 แบรนด์ คือการบินไทยเองซึ่งเป็น Full Service และ ...
ไทยสมายล์ เรียกตัวเองว่า Light Premium บินที่สุวรรณภูมิ ใช้ Code TG และเช็คอินทรูกับ TG ด้วยกันได้หมด ใช้ Facility ของแม่หมดเลยทั้งเว็บ, Call Center ภาคพื้น ฯลฯ
นกแอร์ เรียกตัวเองว่า Premium Low-Cost บินที่ดอนเมือง ใช้ Code DD แยกตัวเองออกมาหมดทั้งบริการภาคพื้น Call Center หรือบนเครื่อง
การบินไทย กับ นกแอร์ เค้าไม่สับสนกัน ก็เพราะว่า ความเป็น
"การบินไทย" ซึ่งเป็น Full Service บินในประเทศอย่างน้อยก็มี ชา-กาแฟ น้ำส้ม ที่ขอเพิ่มได้ มีขนมให้กินฟรีบ้าง
และชื่อ
"นกแอร์" ที่แจกขนมกับน้ำเท่านั้น นอกนั้นซื้อเพิ่มตามแบบฉบับของ Low-Cost Airlines นั่นเอง
เอาเข้าจริงๆ แล้ว
ไทยสมายล์ ก็คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะให้เปรียบเทียบกับนกแอร์ได้ แม้ว่าจะบินกันคนละ Hub ก็ตาม แจกขนมกับน้ำดื่ม นอกนั้นซื้อเพิ่มเหมือนกันเลย
คือคิดว่า บทความนั้น ทุกคนก็ได้อ่านแล้วหล่ะ รู้ว่าไทยสมายล์ก่อตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร และมีเป้้าหมายอะไร
เพียงแต่ว่า
ทุกคนคิดว่าคำว่า Light Premium ควรมี Positioning ที่อยู่เหนือกว่า Premium Low-Costหลายๆ คนคิดว่า จริงๆ ไทยสมายล์ ควรจะต้องออกแนว Silk Air หรือ Dragon Air ด้วยซ้ำไปแต่พอดูๆ ไป ดูๆ มากลับไม่มีความต่างกันกับนกแอร์
ในเมื่อราคาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจว่า จะซื้อบริการหรือไม่ซื้อถ้าดูต่อไปอีกว่า แล้ว TGตัวแม่ กับ TGตัวลูก ต่างกันอย่างไร เอาเฉพาะเรื่่องการบริการบนเครื่อง (เพราะภาคพื้นก็เหมือนกัน)
TG ตัวแม่ = Full Service ภายในประเทศ มาเป็นกล่อง พร้อมน้ำส้ม ชา กาแฟ เติมได้ตลอด บินกับลูกเรือรุ่นใหญ่ประสบการณ์สูงมาก ความน่าเชื่อถือระดับการบินไทย
TG ตัวลูก (BKK) = Light Premium ภายในประเทศ มาเป็นชุดขนม+น้ำเปล่า ถ้าไม่พอซื้ออย่างอื่นเพิ่มได้ ได้แอร์เอ๊าะๆ ลดราคาจากตัวแม่ไปราว 200 บาท รหัสเที่ยวบินเป็น TG
TG ตัวลูก (DMK) = Premium Low-Cost ภายในประเทศ มาเป็นชุดขนมเล็กๆ+น้ำเปล่า ถ้าไม่พอซื้ออย่างอื่่นเพิ่มได้ ได้แอร์เอ๊าะๆ ราคาโปรโมชั่นสไตล์โลว์คอสต์
ทั้งนี้ จุดที่ TG ตัวลูก ที่ทำไปแล้วตอนนี้คือได้ลด cost โดยการใช้แอร์เอ๊าะ Outsource มาให้บริการ แทนที่จะเป็นลูกเรือ TG รุ่นใหญ่
แต่ไม่ควรลดการบริการภายในเที่ยวบินซึ่งจริงๆ แล้ว
ไทยสมายล์ จะไม่โดนตั้งข้อสงสัยขนาดนี้ หากยังคงระดับการให้บริการบนเครื่องไม่ได้ต่างจาก TG ตัวแม่ มากนักตัวอย่างเช่น ไฟล์ทต่างประเทศ เสิร์ฟอาหารร้อน พร้อมเครื่องดื่ม น้ำส้ม ชา-กาแฟ แค่นั้นก็น่าจะเพียงพอ (คือถ้าตัวแม่อาจจะเสิร์ฟน้ำผลไม้หลากชนิด หรือไวน์ ซึ่งตัวลูกไม่ต้องมี)
ผู้โดยสารอยากทาน ชา-กาแฟ หรือน้ำส้ม หรือน้ำเปล่า ขอเพิ่มได้ตลอดการเดินทาง
หรือเที่ยวบินภายในประเทศ เป็นชุดขนมเหมือนตัวแม่ แต่ยังคงมีน้ำส้ม ชา-กาแฟ ให้บริการอยู่
ซึ่งเป็นอะไรที่ให้มากกว่าขนม 2 ชิ้นและน้ำ 1 ขวด จนทำให้หลายๆ คนนึกภาพนกแอร์ขึ้นมา
(เพราะทุกคนรู้ว่า บินนกแอร์ ถ้าอยากได้ต้องซื้อเพิ่ม แต่บินกับไทยสมายล์ อยากได้ยังต้องซื้อเพิ่มอีกหรือ ? ขนาดเป็น Light Premium นะเนี่ยะ)
ทุกคนก็รู้หล่ะว่า ไทยสมายล์ ไม่ใช่โลว์คอสต์ และไม่ได้ทำออกมาเพื่อจะแข่งกับนกแอร์
แต่การบริการที่ใครๆ ก็สามารถนึกถึงได้ คือ ออกแนว
นกแอร์เวอร์ชั่นสุวรรณภูมิชัดๆ นั่นเอง
จึงคิดว่า ไทยสมายล์ น่าจะต้องปรับ ณ จุดนี้ กับ 200 กว่าบาทที่ลดลงไป
การตัดเครื่องดื่มอย่างน้ำส้ม ชา-กาแฟ ออก คิดว่าน่าจะกระทบต่อความรู้สึกใครหลายๆ คนอ้อ จริงๆ เรื่องสิ่งที่พบเห็นได้ สำหรับเส้นทาง กระบี่ และ สุราษฎร์ธานี แม้ว่าเครื่องจะเล็กเหมือนกัน
แต่ด้วยความที่เป็นการบินไทย ลูกเรือบนเครื่องมีประสบการณ์สูง การบริการที่ดี มีอะไรให้ทานบ้างตามมาตรฐานการบินไทย (Full Service)
พอเปลี่ยนเป็นไทยสมายล์ ได้แอร์เอ๊าะที่อาจจะยังไม่เป๊ะมาก เพราะชั่วโมงบินยังไม่สูงมากนัก
อาหารกล่องหายไป ได้ขนมเล็กๆ และน้ำเปล่า ส่วน ชา-กาแฟ น้ำส้มหายไป ....... อยากได้ต้องซื้อเพิ่ม ....ก็ต้องรอดูตอนเปิดให้บริการกันก่อนว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง

แต่ถ้าราคายังคงประมาณนี้ และลักษณะรูปแบบยังคงเป็นแบบนี้ ก็น่าจะเห็นผลได้ในไม่ช้าว่าจะเป็นเช่นไร ...
(ยิ่งไฟล์ทเชียงใหม่ และ ภูเก็ต ซึ่งตัวแม่ ตัวลูก และลูกเมียน้อย รวมถึงคู่แข่งโลว์คอสต์ตัวพ่อ ก็บินด้วยกันทั้งหมด จะเห็นภาพชัดขึ้น)
อยากให้ผู้บริหารได้ลองพิจารณาครับ แต่ทั้งหมด ก็เป็นความเห็นส่วนตัว เท่านั้นเอง