六道轮回 วัฎสงสาร(สังสารวัฎ)ทั้งหก
หากจะเปรียบบริเวณเขาเป่าติ่ง เป็นสถานศึกษาวิชาพื้นฐานของพุทธศาสนา(มหายาน) เช่นนั้นรูปแกะสลักนี้ จะเป็นบทเรียนบทแรกที่กล่าวถึง กรรมและผลของกรรม.(ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)
ในภาพจะเห็นปีศาจ(ยักษ์)อุ้มธรรมจักรและใช้ปากคาบไว้ ใจกลางธรรมจักรจะมีผู้ถือศีลอยู่และมีรัศมีแผ่ออกจากใจ โดยรัศมีเหล่านั้นได้แบ่งธรรมจักรออกเป็น 6 ห้อง. ภาพนี้พุทธมหายานสื่อให้รู้ถึง เหตุและผลแห่งกรรม, ปีศาจ(ยักษ์)ตนนี้มีชื่อว่า无常 (อู๋ฉัง) แปลว่า ไม่จีรัง,ไม่ยั่งยืน อธิบายถึงสรรพสิ่งล้วนไม่จีรังยั่งยืน มีเกิดต้องมีดับ. และที่ต้องใช้ปากคาบธรรมจักร สื่อให้รู้ว่า วงล้อแห่งธรรมไม่อาจหมุนย้อนกลับ ทำฉันใดได้ฉันนั้น. ผู้ถือศีลมีรังสีแผ่ออกมา หมายถึง ทุกสิ่งที่กระทำล้วนเกิดจากใจของเรา ความดีความชั่วทั้งหลายใจเราเองนั้นแหละเป็นผู้กระทำ. วงล้อรอบในที่ถูกรัศมีแบ่งเป็น 6 ช่อง ได้แก่ ช่องกลางบนหมายถึงแดนสวรรค์,ซ้ายบนคือแดนอสูร(หรือแดนเทวะ ในมหายาน อสูรในที่นี้เช่น ยักษ์ เทพต่าง) หมายถึงผู้ที่สั่งสมกรรมดีแต่ยังไม่หมดซึ่งกิเลสบางประการ,ขวาบนคือแดนมนุษย์,ช่องกลางล่างคือแดนนรก,ซ้ายล่างคือแดนสัตว์เดรัจฉาน,ขวาล่างคือแดนปีศาจ ทั้งหมดนี้สื่อถึงสังสารวัฎทั้ง6 การเวียนว่ายตายเกิด ผู้ใดสะสมกรรมดีย่อมได้เกิดในภพภูมิที่ดี ผู้ใดกระทำเลวผู้นั้นย่อมได้เกิดในภูมิเลว.วงล้อรอบนอกสื่อถึงความทุก์ต่างๆของมนุษย์ เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย, และที่มาของทุกข์เหล่านี้เกิดจากคำว่า โลภและหลง อันปรากฎในภาพคือด้านล่างภายนอกวงล้อ ซึ่งมีขุนนางและลิงจับอวัยวะเพศจับวงล้ออยู่ ขุนนางในที่นี้เปรียบเสมือนความโลภ ส่วนลิงเปรียบถึงความใคร่ จึงเป็นที่มาแห่งทุก์ทั้งปวง.ภายในแสงรัศมีทั้ง6เส้น จะประทับไปด้วยเหล่าพระโพธิสัตว์ หมายถึง จิตของเราสามารถเข้าถึงพระพุทธได้ ขอเพียงจิตที่ยึดมั่นในกรรมดี เฉกเช่นพระโพธิสัตว์ เราก็สามารถหลุดพ้น สังสารวัฎเหล่านี้ บรรลุถึงพุทธะ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก.