ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับพี่ flyvirgin นะครับว่าดีลแบบนี้คงเกิดกับการบินไทยได้ยากเพราะ SQ สั่งเครื่องใหม่กับแอร์บัสโดยตรงถึง 25 ลำเลยนะครับ ในขณะที่ของเรามียอดสั่งไปแล้ว และถ้าสั่งเพิ่มก็ไม่รู้ว่าจะเอาไปบินเส้นทางไหน แถมส่วนหนึ่งก็เป็นจากการ dry lease (ซึ่งที่จริงก็มีเหตุผลดีเพราะได้เครื่องเร็วไม่น้อยหน้าคู่แข่ง)
อีกอย่างหนึ่ง ผมไม่คิดว่าจะมีสายการบินไหนเปิดเส้นทางบิน ultra long haul แบบนี้ได้อีกถ้าราคาน้ำมันยังสูงลิ่วแบบนี้ ดูง่ายๆ ขนาด 777-200LR ก็ยังมียอดสั่งแค่ 60 กว่าลำตั้งแต่เริ่มเปิดให้จอง เทียบกับ 777-300ER ไม่ติด และส่วนใหญ่ก็ไม่ได้นำมาบินเส้นทางไกลมากๆ แบบที่ต้องใช้เครื่อง ULH เท่านั้นด้วย กลายเป็นว่า 777-200LR ถูกนำมาใช้ในเส้นทางที่ไม่ไกลมากแต่ต้องการให้บรรทุกทั้งผู้โดยสารและสินค้าให้ได้เยอะๆ ผมคิดว่ามันคงหมดยุคที่สายการบินมาแข่งกันบินไกลๆ point-to-point แล้วล่ะครับ สู้ทำตลาดเส้นทางไม่เกิน 12 - 13 ชั่วโมงดีกว่า ทำกำไรง่ายกว่ากันเยอะ
ถ้าอย่างนั้นโบอิ้งจะสร้าง 777-200LR ขึ้นมาทำไมในเมื่อคิดว่าคนจะซื้อน้อย ก็เพราะโบอิ้งจะสร้าง 777F ซึ่งใช้ลำตัวและเครื่องยนต์เดียวกันอยู่แล้วครับ นี่ทำให้ผมคิดว่าแอร์บัสก็คงจะไม่สร้าง A359R ขึ้นมาในระยะอันใกล้แน่นอน (ขนาดตอนนี้ก็ยังไม่เห็นมีแผนเลยซักแอะ) นอกจากจะสร้างเป็นเครื่องส่งสินค้า ซึ่งก็แอบยากอีกเพราะต้องยอมรับว่าแอร์บัสยังทำตลาดตรงนี้ได้น้อยกว่าโบอิ้งมากครับ
ข้อมูล LF รู้สึกว่าสามารถหาได้จากเว็บของ DOT ของอเมริกาครับ (แต่ผมก็หาไม่เป็นเหมือนกัน )
ก็ในเมื่อตอนนั้นราคาน้ำมันยังแค่ 1/3 ของที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ครับคนผลิตเครื่อง A345 นี่เขาไม่คิดมาก่อนบ้างหรอครับว่ามันไม่สามารถทำกำไรให้ลูกค้า
(แต่เอาจริงๆ แอร์บัสก็พลาดเรื่องสเป็กน้ำหนักของรุ่นนี้ไปพอสมควร)